ตั๊กแตน เป็นแมลงที่อยู่ในอันดับ Orthoptera
20รับ100 มีลักษณะสำคัญคือ มีปากแบบกัดกิน (Chewing Type) พบตั้งแต่ในระยะตัวอ่อนจนถึงตัวเต็มวัย มีตารวมขนาดใหญ่ มีหนวดเป็นแบบเส้นด้าย (filiform) ปีกคู่หน้าเป็นคล้ายหนัง (tegmina) ปีกคู่หลังแบบบางใส (membrane) ซึ่งพับอยู่ใต้ปีกคู่หน้า ขา 2 คู่แรกเป็นขาเดิน ( walking legs) ขาคู่หลังเป็นแบบกระโดด (jumping legs) tarsi มี 3 – 5 ปล้อง ตั๊กแตนมีอวัยวะพิเศษคือ อวัยวะทำเสียง และอวัยวะฟังเสียง เพื่อใช้ในการสื่อสาร หาคู่ และไล่ศัตรู อวัยวะทั้งสองอย่างสามารถช่วยแยกกลุ่มของแมลงได้ การเจริญและการเปลี่ยนแปลงรูปร่างเป็นแบบ Paurometabola เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า gradual metamorphosis เป็นการเปลี่ยนแปลงรูปร่างทีละน้อย ระยะตัวอ่อนเรียกว่า Nymph ตัวอ่อนจะมีขนาดเล็กกว่าตัวเต็มวัยแต่ยังไม่มีปีก และจะลอกคราบและเจริญเติบโตไปจนเป็นตัวเต็มวัยเมื่อมีการลอกคราบครั้งสุดท้าย การวางไข่ มีลักษณะแตกต่างกัน อาจเป็นไข่เดี่ยวหรือไข่กลุ่ม มีทั้งวางในดินและวางไข่ในพืชอาหาร
ตั๊กแตนส่วนใหญ่ที่พบ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มคือ ตั๊กแตนหนวดสั้น (short-horn grasshoppers) ตั๊กแตนหวดยาว (long-horn grasshoppers) และตั๊กแตนแคราะ (pygmy grasshoppers)
ตั๊กแตนหนวดสั้น ที่พบมีอยู่หลายชนิด จัดอยู่ในวงศ์ Acricidae ลักษณะเด่นในวงศ์นี้ คือมีหนวดสั้น pronotum ยาวไม่ถึงท้อง tarsi มี 3 ปล้อง อวัยวะวางไข่สั้น ลำตัวมีสีเทา หรือสีน้ำตาล ปีกของตั๊กแตนบางชนิดมีสีสรรสดใส การวางไข่จะวางเป็นกลุ่มในดิน ตั๊กแตนหนวดสั้นบางชนิดมีอวัยวะทำเสียง โดยการเสียดสีกันของปุ่มเล็กๆเรียงกันเป็นแถวตามยาวที่ femer ด้านในของขาคู่หลัง และมีอวัยวะฟังเสียงที่เรียกว่า Tympanum เป็นอวัยวะที่มีลักษณะเป็นแผ่นเยื่อบาง รอรับการกระทบของคลื่นเสียง พบที่ ส่วนท้องปล้องที่ 1 ทางด้านข้างของตั๊กแตน ส่วนใหญ่จะเกาะอยู่ตามใบไม้
ตั๊กแตนหนวดยาว จัดอยู่ในวงศ์ Tettigoniidae เป็นแมลงที่มีลำตัวขนาดใหญ่ ลำตัวสีเขียว หนวดยาว tarsi มี 4 ปล้อง อวัยวะทำเสียงเกิดจากการเสียดสีกันของปีกคู่หน้า และมีอวัยวะรับฟังเสียงอยู่ที่ tibia ของขาคู่หน้า อวัยวะวางไข่แข็งแรงรูปร่างคล้ายดาบ ชอบวางไข่บนหรือภายในเนื้อเยื่อพืช ในเส้นทางศึกษาธรรมชาติ จะพบเห็นตั๊กแตนหนวดยาวได้น้อยกว่า ตั๊กแตนหนวดสั้น
ตั๊กแตนแคราะ จัดอยู่ในวงศ์ Tetrigidae
ลักษณะจะใกล้เคียงกับตั๊กแตนหนวดสั้น แต่มีขนาดเล็กกว่า โดยจะมีขนาดประมาณ 13 – 19 มิลลิเมตร ตัวเมียมักมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้ ลักษณะเฉพาะ คือ pronotum ขยายไปทางด้านหลังคลุมส่วนท้อง ปีกคู่หน้าสั้น ในเส้นทางศึกษาธรรมชาติ มักพบอยู่ตามทางเดิน เวลาเดินไปบริเวณที่ตั๊กแตนอาศัยอยู่ มันจะกระโดดหนีไปทางด้านหน้าของเรา
ตั๊กแตน
ตั๊กแตนเป็นนักกระโดดไกลที่เยี่ยมยอด เพราะมีขาหลังที่ยาว และใหญ่มากเมื่อเทียบกับลำตัว ขาหลังนี้แข็งแรงมีกำลังช่วยให้กระโดดไปได้ไกลเต็มที่ถึงสามสิบนิ้ว นอกจากใช้กระโดดขาหลังยังอาจทำหน้าที่อย่างอื่นคือ ทำให้เกิดเป็นเสียงฟังเป็นเพลงในหมู่ตั๊กแตนอีกด้วย
ที่ขาหลังท่อนบนด้านที่หันเข้าหาลำตัวมีสันแข็งคมยาวเป็นแนวไปตลอดท่อนขา เมื่อจะทำให้เกิดเสียง ตั๊กแตนหนุ่มจะขยับขาให้สูงต่ำขึ้นลงเป็นจังหวะในท่านี้สันคมของขาก็จะสีไปบนส่วนขรุขระ และหนาแข็งของปีกคู่บน เกิดเป็นเสียงเพลงตั๊กแตนแบ่งออกได้เป็นสองพวกใหญ่ คือตั๊กแตนหนวดสั้น กับตั๊กแตนหนวดยาว ตั๊กแตนหนวดสั้นมีหนวดสั้นกว่าลำตัว ชอบอยู่ตามทุ่งหญ้าสนามหญ้า พวกนี้มักมีลำตัวเป็นสีน้ำตาล หรือสีคล้ำ พวกนี้แหละที่ส่งเสียงโดยการสีขาเข้ากับปีก ส่วนตั๊กแตนหนวดยาวมีหนวดที่หัวสองเส้นยาวกว่าลำตัว ตัวมักเป็นสีเขียว ทำเสียงเรียกตัวเมียได้โดยการสีปีกเข้าด้วยกันแบบจิ้งหรีด ตั๊กแตนหนวดยาวอยู่ตามต้นไม้ พุ่มไม้ กินใบอ่อนเป็นอาหารตั๊กแตนมีปากแบบปากกัด จึงอาจกัดได้เจ็บ ๆ เหมือนกัน ลูกอ่อนของตั๊กแตนฟักออกจากไข่มีรูปร่างคล้ายพ่อแม่ แต่ไม่มีปีก ต้องลอกคราบหลายครั้ง
และค่อยโตขึ้นจึงมีปีกเหมือนอย่างตั๊กแตนตัวพ่อแม่ 20รับ100